วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของเห็ดแต่ละชนิด

เห็ด เป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ ที่มีวิวัฒนาการมาจากการประสานเส้นใยจำนวนมากของเชื้อราชั้นสูง และถึงแม้เห็ดจะขาดกรดอะมิโนบางตัวไปบ้าง แต่ในเรื่องของรสชาติและเนื้อสัมผัสนั้น รับรองว่าเห็ดไม่เป็นรองใครในยุทธจักรอาหารอย่างแน่นอน ที่สำคัญเห็ดยังให้คุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
เห็ดจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้ มาจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ในส่วนของเกลือแร่ เห็ดจัดเป็นแหล่งเกลือแร่ที่สำคัญ โดยมีเกลือแร่ต่างๆ เช่น ซิลิเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โปแตสเซียม ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ และอัมพาต ส่วนทองแดง ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็ก และที่สำคัญ เห็ดมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่ชื่อว่า “โพลีแซคคาไรด์”(Polysaccharide) จะทำงานร่วมกับแมคโครฟากจ์ (macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ที่ออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อและจะไป จับกับโพลีแซคคาไรด์ที่บริเวณกระเพาะอาหาร และนำไปส่งยังเซลล์คุ้มกันตัวอื่นๆ โดยจะช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ด้วย เห็ดที่มีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์สูง คือ เห็ดหอมหรือเห็ดชิตาเกะ เห็ดนางรม เห็ดหูช้าง และเห็ดกระดุม เป็นต้น และเห็ดอื่นๆ ที่นิยมนำมารับประทาน ได้แก่ เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดกระดุมหรือแชมปิญอง เห็ดโคน และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เห็ดเป็นยาได้อีกด้วย ซึ่งสรรพคุณทางยาของเห็ดมีมากมาย เช่น ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ตับ และระบบไหลเวียนของโลหิต เนื่องจากชาวจีนจัดเห็ดเป็นยาเย็น เพราะมีสรรพคุณช่วยลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต ดับร้อนใน แก้ช้ำใน บำรุงร่างกาย ลดระดับน้ำตาล และคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด ลดความดัน ขับปัสสาวะ ช่วยให้หายหงุดหงิด บำรุงเซลล์ประสาท รักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่สำคัญ คือ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ประโยชน์ทางการแพทย์ของเห็ดชนิดต่างๆ มีดังนี้
1. เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
2. เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต
3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
4. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนใน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระฉันลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์ มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และ
โรคกระเพาะ
6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
7. เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส
8. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
9. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบาง ชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงเห็ดเบื้องต้น

ความรูทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด
มนุษยเรารูจัก “เห็ด” และนํามาใชบริโภคเปนอาหารเปนเวลานานแล ว มีหลักฐานวา
เห็ ดเกิดขึ้นบนโลกมานานกวา 130 ล านป ก อนที่มนุ ษย จะเกิดขึ้นบนโลก นอกจากเห็ดจะเปนแหลง
อาหารของมนุษยและสัตวแลว เห็ดยังมีบทบาทสําคัญในการรักษาสิ่งแวดลอม โดยชวยในกระบวนการ
ยอยสลายสิ่งตกคางจากซากพืช โดยเฉพาะที่มีสวนประกอบของเซลลูโลส ลิ กนิน และมูลสัตว ใหเปน
ประโยชนตอการเจริ ญเติบโต เปนการลดปริมาณของเสียที่ เกิดจากพื ชและสัตวโดยธรรมชาติ ทั้ งนี้
เนื่องจากเห็ด มีเอ็นไซบ (Enzyme) หลายชนิดที่ยอยสลายวัสดุ ที่มีโครงสรางของอาหารที่ซับซ อน ใหอยู
ในรูปของสารอาหารที่สามารถดูดซึ มไปใชได เชน เห็ดหอม เห็ดสกุ ลนางรม เห็ดกระดุม เปนตน
นอกจากนี้ ยังมีเห็ดที่ตองอาศัยอาหารจากสิ่ งมี ชีวิตอื่นๆ หรื ออาศัยอาหารจากรากพื ชอีกหลายชนิดใน
ธรรมชาติ
เห็ดคืออะไร
เห็ดมีความหมายไดหลายอย างขึ้นอยูกับการใชประโยชน ถาใชเปนอาหารเห็ดจะอยูใน
กลุ มพื ชผัก เห็ดเป นพวกที่มีโปรตีนสู ง อุ ดมด วยวิตามินและเกลื อแรที่ สําคั ญหลายชนิ ด โดยเฉพาะ
วิตามิน บี 1 และบี 2 และมีแคลอรี่ ต่ํา เห็ดถูกจัดเปนพืชชั้นต่ํ ากลุมหนึ่ง เนื่องจากเห็ดไมมีคลอโรฟล
สังเคราะหแสงไมได ปรุงอาหารไมได ตองอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยการเปนปรสิต (Parasite)
หรือขึ้นบนรากพืชที่ตายแลว (Saprophyte) หรืออาศัยอาหารจากรากพืชอื่นๆ (Mycorrhiza)
โดยทั่วไปเห็ดเป นชื่อใชเรี ยกราชั้นสูงกลุ มหนึ่ง ซึ่งมี วิ วั ฒนาการสู ง สู งกว าราอื่นๆมี
วงจรชีวิตที่สลับซับซอนกวาเชื้อราทั่วไป เริ่มจากสปอรซึ่งเปนอวัยวะหรือสวนที่สรางเซลขยายพันธุ เพื่อ
ตกไปในสภาพแวดลอมที่เหมาะสมจะงอกเปนใย และกลุมใยรา (Mycelium) เจริญพั ฒนาเปนกลุ มกอน
เกิ ดเปนดอกเห็ด อยูเหนือพื้นดิ นบนตนไม ขอนไม ซากพืช มู ลสัตว ฯลฯ เมื่อดอกเห็ดเจริญจะสร าง
สปอร ซึ่งจะปลิวไปงอกเปนใยรา และเปนดอกเห็ดไดอีก หมุนเวียนเชนนี้เรื่อยไป
สวนตางๆ ของเห็ด (Morphology)
1. หมวก (Cap or pilleus)
เปนสวนที่อยูดานบนสุด มีรูปรางตางๆ กัน เชน โคงนูน รูปกรวย รูปปากแตร รูประฆัง เปนตน
ผิวบนหมวกตางกัน เชน ผิวเรียบ ขรุขระ มีขนเกล็ด มีสีแตกตางกันและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได
2. ครีบ (Gill or lamelta)
อาจเปนแผนหรือซี่บางๆ อยูใตหมวกเรียงเปนรัศมี หรือเปนรู (Pores) ครีบเปนที่เกิดของสปอร
3. กาน (Stalk or stipe)
ปลายขางหนึ่งของกานยึดติดกับดอก หรือหมวกเห็ด มีขนาดรูปรางสีตางกันในแตละชนิดเห็ด
ผิวยาวเรียบขรุขระ มีขนหรือเกล็ด เห็ดบางชนิดไมมีกาน เชน เชน เห็ดหูหนู เห็ดเผาะ เปนตน
4. วงแหวน (Ring or annulus)
เปนสวนที่เกิดจากเยื่อบางๆ ที่ยึดขอบหมวกกับกานดอกที่ขาดออกจากหมวกเห็ดบาน
5. เปลือกหรือเยื่อหุมดอก (Volva outer veil)
เปนสวนนอกสุดที่หุมหมวก และกานไวภายในขณะที่ยังเปนดอกออน จะแตกออกเมื่อดอกเริ่ม
บาน สวนของเปลือกหุมจะยังอยูที่โคน
6. เนื้อ (Context)
เนื้อภายในหมวกหรือกานอาจจะสั้น เหนียวนุม เปราะ เปนเสนใย เปนรูคอนขางแข็ง
คุณสมบัติของเห็ด
1. เห็ดที่รับประทานได (Edible mushroom)
เห็ดที่รับประทานไดมักมีรสและกลิ่นหอม เนื้อออนนุมหรือกรุบกรอบ เชน เห็ดหูหนู เห็ด
ฟาง เห็ดนางรม เห็ดภูฎาน เห็ดโคน เห็ดตับเตา บางชนิดเพาะเลี้ยงได บางชนิดเพาะเลี้ยงไมได
2. เห็ดมีพิษ (Poisonous mushroom)
เห็ดมีพิษมีหลายชนิด บางชนิ ดมีพิษรายแรงถึ งตาย เช น เห็ดระโงกหิน บางชนิดมีพิษทําใหเกิด
อาการอาเจียนมึนเมา เชน เห็ดรางแห เห็ดปลวกฟาน เห็ดหัวกรวดครีบเขียวออน เห็ดขี้ควาย เปนตน
การจําแนกเห็ดพิษเปนไปไดยาก เนื่องจากเห็ดในสกุลเดียวกัน บางชนิดรับประทานได บางชนิด
เปนพิษถึงตาย เชน เห็ดในสกุลอะมานิตา (Amnita) และเห็ดในสกุลเลปปโอตา (Lepiota) ดังนั้นการ
เก็บเห็ดที่ไมรูจักมารับประทานจึงไมควรทํา ควรเห็ดรับประทานเห็ดที่รูจักเทานั้น เนื่องจากความเปนพิษ
ของเห็ดบางชนิดรุนแรงถึงตาย บางชนิดทําใหเกิดอาการอาเจียน หรือทองรวง พิษของเห็ดจะเขาไป
ทําลายระบบประสาท ตับไตและประสาทตา
ขอควรระวังในการบริโภคเห็ด (เห็ดปา)
1. อยารับประทานเห็ดที่มีสีสวยสด และมีกลิ่นหอม ฉุนหรือเอียน
2. อยารับประทานเห็ดที่ยังตมไมสุก
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดเมื่อผาแลวเปลี่ยนสีหรือมีน้ําเยิ้มซึมออกมา
4. อยาเก็บเห็ดออน หรือเห็ดดอกตูมมารับประทาน เนื่องจากเห็ดในระยะนี้ยังไมสามารถจําแนกไดวา
เปนเห็ดพิษหรือไม
5. จงรับประทานเห็ดที่ทานรูจักและแนใจวาเปนเห็ดที่รับประทานไดจริงๆ
6. อยาทดลองรับประทานเห็ดพิษ เพราะทานไมมีโอกาสรอดแน
คุณคาทางโภชนาการของเห็ด
1. มีโปรตีนสูงกวาพืชผักชนิดอื่นๆ ยกเวนถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
2. มีไขมันที่เปนประโยชนตอรางกาย (Unsaturated fatty acid)
3. มีกรดอมิโนที่จําเปนตอรางกาย
4. มีแคลอรี่ต่ํา
5. มีวิตามินหลายชนิดโดยเฉพาะอยางยิ่ง วิตามิน บี1 บี2 วิตามินซี
6. มีสวนประกอบของเยื่อใย (Fiber) และคารโบไฮเดรท
7. มีแรธาตุที่สําคัญหลายชนิด
ขั้นตอนที่สําคัญในการผลิตเห็ด
กอนที่จะกลาวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการวางแผนการจัดตั้งฟารมเห็ด ใครขอทบทวนถึงขั้นตอน
ใหญๆ ที่สําคัญในการผลิตเห็ดและขอมูลที่ตองการเสียกอนเพื่อเปนพื้นฐาน เนื่องจากขั้นตอนเหลานี้จะมี
ผลถึงการวางแผนและการจัดการฟารมเห็ดในขั้นตอไปดวย
การเลือกชนิดของเห็ดที่จะผลิต การเลือกชนิดของเห็ดนี้เปนขั้นแรกและสําคัญที่สุดเพราะเปน
จุดเริ่มตนของการวางแผนทั้งระบบ เกณฑที่ใชในการเลือกชนิดของเห็ดที่จะผลิต ไดแก ตลาด สถานที่ ตั้ง
ฟารม ภูมิประเทศและภูมิอากาศ และความยากงายในการจัดหาวัสดุที่ใชเพาะ ซึ่งเรื่องนี้จํานําไปขยาย
ความโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
การคัดเลือกแมเชื้อ การคัดเลือกแมเชื้อหรือแมพันธุนี้เปนการเตรียมการขั้นแรกของขบวนการทํา
เชื้อ สิ่งที่ควรคํานึงคือลักษณะประจําพันธุอันไดแก ผลผลิต คุณภาพ สีขนาดดอกและการตอบสนองตอ
อุณหภูมิระดับตางๆ เปนตนแมเชื้อนี้สามารถเตรียมไดเองจากเนื้อเยื่อดอก จากสปอรหรือจะซื้อหาจาก
แหลงรวบรวมเชื้อพันธุที่เชื่อถือได ทั้งของราชการและเอกชล แมเชื้อเห็ดที่ดีจะตองมีความบริสุทธิ์
ทางดานพันธุกรรม ไมเปนโรคไวรัสความรูเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาแมเชื้ออยางถูกหลักวิชาการเพื่อไมหา
ติดโรคและไมเกิดการกลายพันธุจึงมีความสําคัญอยางยิ่ง
การทําเชื้อเห็ด เชื้อเห็ดในที่นี้หมายถึงเชื้อเพาะ ซึ่งประกอบดวยเสนใยเห็ด และวัสดุซึ่งใชเลี้ยง
เสนใย มีผูทําเชื้อเปนจํานวนมากที่ใหความสําคัญตอวัสดุทําเชื้อมากเกินไป โดยเฉพาะอยางยิ่งในการผลิต
เชื้อเห็ดฟาง แทที่จริงแลวพันธุเห็ดที่ใชมีความสําคัญที่สุด วัสดุที่ใชทําเชื้อมีความสําคัญรองลงมาโดยจะ
การจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ด การเตรียมวัสดุเพาะเห็ดมีรายละเอียดแตกตางกันไปตามชนิดของเห็ด
ที่จะทําการเพาะ พอจะแยกกวางๆ ออกไดเปน การเตรียมวัสดุที่จําเปนตองหมัก เชน การทําปุยเพาะเห็ด
ฟางแบบโรงเรือนอบไอน้ํา หรือปุยเพาะเห็ดแชมปญอง หรือแมกระทั่งขี้เลื่อยไมเบจพรรณ ซึ่งจําเปนตอง
กองหมักทิ้งไวกอน สวนการเตรียมวัสดุอีกประเภทหนึ่งไดแกวัสดุที่ไมจําเปนตองหมัก เชนฟางสําหรับ
เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และขี้เลื่อยไมยางพาราสําหรับเพาะเห็ดถุงชนิดตางๆ เปนตน
ในการเตรียมวัสดุที่ตองหมักนั้น ขอมูลหรือความรูที่สําคัญคือ ขั้นตอนตางๆ ของการหมักธาตุ
อาหารที่ตองใสเพิ่ม วิธีและเวลาในการกลับกอง การใหความชื้น ขอมูลเรื่องความเปนกรดเปนดางที่
เหมาะสมลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีหรือธาตุอาหารของปุยเมื่อขบวนการหมักสิ้นสุดลง
ความหนาบางของชั้นปุยเมื่อใสบนชั้นในโรงเรือน อุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบไอน้ํา
เพื่อที่จะกําจัดศูตรเห็ด และในขณะเดียวกันก็ปรับสภาพปุยหมักใหเหมะสมกับชนิดของเห็ดที่จะเพาะไป
ดวย
สวนวัสดุที่ไมตองหมักนั้น ขอมูลสําคัญที่จําเปนตองทราบไดแก ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะ
ทางเคมีอันไดแกความเปนกรดเปนดาง ปริมาณธาตุอาหาร การเติมอาหารเสริมและความเสียหายอัน
เนื่องมาจากการปนเปอนโดยเชื้อจุลินทรียชนิดอื่น วิธีการใสเชื้อและระบบการใสเชื้อซึ่งแตกตางกันไป
ตามชนิดของเห็ดเชื้อเห็ดบางชนิดใสโดยหวานหรือคลุกกับวัสดุเพาะและสามารถทําไดโดยงาย เชื้อเห็ด
บางชนิดตองการความระมัดระวังอายางยิ่งในการใสเชื้อลงในถุง มิฉะนั้นแลวจะเกิดการปนเปอนเสียหาย
เชนเห็ดหอม
การดูแลรักษา ซึ่งเริ่มตั้งแตการบมเชื้อ การบังคับใหออกดอก การใหน้ําและการเก็บดอก ขอมูลที่
จําเปนตองทราบ ไดแก สภาพแวดลอมที่เหมะสม เชนปริมาณกาชออกซิเจน และคารบอนไดออกไซด
อุณหภูมิ ความชื้น ความเปนกรดเปนดาง ในระยะความเจริญตางๆ กันของเห็ดแตละชนิด
การเก็บรักษาเห็ด
เห็ดนางรมฮังการี
บรรจุดอกเห็ดในถาดพลาสติก หุมดวยฟลม PVC เก็บที่อุณหภูมิ 5 องศาเชลเซียล เปน
เวลา 2 วัน เจาะรู 5-10 รู จะชวยระบายกลิ่นที่ผิดปกติออกไป สามารถเก็บรักษาตอไปไดอีก 4-5 วัน โดยที่
ดอกเห็ดยังคงสภาพดีและไมมีกลิ่นเหม็น
เห็ดฟาง
การแชแข็ง ทดสอบนําเห็ดฟางมาตัดแตงผาใหเปนชิ้นตามตองการลวกในน้ําเดือดแลวแชในน้ํา
เย็นทันที่แบงใสถุงพลาสติกนําไปแชในตูเย็นแชแข็งไวไดเปนเวลานายหลายเดือน เมื่อตองการนํามาปรุง
เห็ดเปาฮื้อ
เห็ดเปาฮื้อกานสั้นและกานยาว บรรจุในถุงพลาสติกทนรอน เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 6-7 องศา
เซลเซียส นาน 14 วัน สภาพยังสด กลิ่นปกติ จําหนายได
การวางแผนการผลิตเห็ด
การคัดเลือกชนิดเห็ดที่จะเพาะ การคัดเลือกชนิดเห็ดนับวาสําคัญอยงยิ่ง เนื่องจากจะเปน
ตัวกําหนดถึงการวางผัง และแผนปฎิบัติการที่จะติดตามมา ในชั้นนี้รายละเอียดที่ตองทราบเพื่อใช
ประกอบการตัดสินใจดังตอไปนี้
1. เห็ดที่จะผลิ ตจะตองไดรั บการยอมรั บจากผูบริโภคไม ว าจะโดยที่ ประชาชนในพื้ นที่ มี
ความคุนเคยอยูเปนอยางดีแลว เชนเห็ดพื้นเมืองชนิดตางๆ หรือจะเปนเห็ดที่นําเขามาจากตางประเทศและ
มีการโฆษณาประชาสัมพันธใหพื้นที่รูจักทั่วไป และเกิดความนิยมในการบริโภคขึ้นมา
2. พื้นที่หรือสถานที่ตั้งฟารมจะตองอยูไมหางจากตลาดหรือแหลงรับซื้อ การคมนาคมสะดวก
3. ตลาดจะตองมีขนาดใหญพอที่จะรองรับผลผลิต
4. สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศเหมะสมกับการผลิตเห็ดชนิดที่ตองการทั้ งนี้เนื่องจาก
เห็ดต างชนิ ดกันมีความต องการอุณหภู มิในการเจริ ญของเส นใยและการออกดอกไม เทากัน ถ าสภาพ
ภูมิอากาศโดยเฉพาะอยางยิ่งอุณหภูมิ ไมเหมาะสมทําใหตองมีการปรับอุณหภู มิซึ่งจะทําใหการดําเนิ นการ
ผลิตยุงยากเพิ่มขึ้นไปอีก และมีตนทุนสูงขึ้นไปดวย
5. วั ตถุ ดิบหรื อวั สดุ ที่ ใช ในการเพาะเห็ ด หางาย และมี ราคาถู กซึ่งในป จจุ บั นนี้ ป ญหาอั น
เนื่องมาจากวัสดุเพาะหายากกําลังกลายมาเปนปญหาสําคัญของการเพาะเห็ดหลายชนิด ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุ
สําหรับเพาะเห็ดหลายอยาง เชนขี้เลื่อย และขี้ฝาย มีราคาสูงขึ้น และหายากขึ้นเรื่อยๆ ปญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้น
ถ าฟารมเห็ดตั้งอยู ในที่ หางไกลจากแหลงผลิตวั สดุเหลานี้

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขายเครื่องผสมขี้เลื้อย

ฟาร์มเห็ด พัทยา รับสั่งทำเครื่องผสมขี้เลื้อย ตู้นึ่งก้อนเห็ด เครื่องอัดก้อนเห็ด สนใจโทร ได้ที่ 080-0529101

การทำฟาร์มเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

การบริหารจัดการฟาร์มเห็ดให้ประสบความสำเร็จ
การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลากว่า 60 ปี โดยอาศัยการศึกษาวิจัย ค้นคว้าทั้งในและต่างประเทศ มีการเผยแพร่สู่เกษตรกรและผู้สนใจ ในลักษณะการทำเป็นอาชีพเสริมรายได้กระทั่งพัฒนาไปเป็นอาชีพหลัก มีชาวฟาร์มเห็ดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งก็ล้มเลิกกิจการ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการนำความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ การใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มแบบผสมผสาน ดังนี้ผู้ที่ต้องการเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีการพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้
1.การวางแผนขั้นแรก : การคัดเลือกชนิดเห็ด
การคัดเลือกชนิดเห็ดนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดการวางผังและแผนปฏิบัติที่จะติดตามมา สำหรับรายละเอียดที่ต้องทราบเพื่อให้ประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1.1 เห็ดที่จะเพาะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเห็ดที่ประชาชนใน พื้นที่มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้านางรม หรือจะเป็นเห็ดที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้จัดทั่วไป และเกิดความนิยมในการบริโภคขึ้นมา เช่น เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง
1.2 พื้นที่ หรือสถานที่ตั้งฟาร์ม จะต้องอยู่ไม่ห่างจากตลาดหรือแหล่งรับซื้อ มีการคมนาคมสะดวก
1.3 ตลาด จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตที่กำหนดไว้ในเป้าหมายได้
1.4 สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศเหมาะสมกับการผลิตเห็ดชนิดที่ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดต่างชนิดกันมีความต้องการอุณหภูมิในการเจริญของเส้นใย และการออกดอกไม่เท่ากัน ถ้าสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิไม่เหมาะสมทำให้ต้องมีการปรับ อุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการผลิตยุ่งยากเพิ่มขึ้นไปอีก และมีต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย
1.5 วัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด หาง่าย และมีราคาถูกซึ่งในปัจจุบันนี้ ปัญหาอันเนื่องมาจากวัสดุเพาะหายาก กำลังกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของการเพาะเห็ดหลายชนิด ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุสำหรับเพาะเห็ดหลายอย่าง เช่น ขี้เลื่อยและขี้ฝ้าย มีราคาสูงขึ้น และหายากขึ้นเรื่อง ๆ ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นถ้าฟาร์มเห็ดตั้งอยู่ในที่ห่างไกลจากแหล่งผลิตวัสดุ เหล่านี้
เมื่อศึกษาข้อมูลโดยละเอียดแล้วจะสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเลือก เพาะเห็ดชนิดใดก็ได้ และจัดทำแผนการตลาดประจำปีไว้ล่วงหน้า เพื่อทำแผนการผลิตเห็ดประจำปี โดยกำหนดปริมารงาน และกำหนดเวลาปฏิบัติได้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างมีระบบ
2.การคัดเลือกแม่เชื้อ
การคัดเลือกแม่เชื้อเห็ดเป็นการเตรียมการขั้นตอนแรกของการทำเชื้อ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่ ผลผลิต คุณภาพ สี ขนาดดอกและการตอบสนองต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ แม่เชื้อเตรียมได้จากเนื้อเยื่อดอกเห็ด แม่เชื้อที่ดีจะต้องมีความบริสุทธิ์ ไม่เป็นโรคติดต่อ จึงมีความจำเป็นในการเอาใจใส่ในการคัดเลือกแม่เชื้อเป็นสำคัญ
3.การทำเชื้อเห็ด
เชื้อเห็ดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเพาะเห็ดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้พันธุ์เห็ดที่มีอัตราการเจริญสูง มีความแข็งแรง เส้นใยเจริญรวดเร็ว ให้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด ก็นำมาเพาะในวัสดุที่ปราศจากการปนเปื้อน ผ่านการบ่ม และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี
4.การจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
การเตรียมวัสดุเพาะเห็ดมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ดที่จะทำการ เพาะ พอจะแยกกว้างๆ ออกได้เป็นการเตรียมวัสดุที่จำเป็นต้องหมัก เช่น การทำปุ๋ยเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม หรือปุ๋ยเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือแม้กระทั่งขี้เลื่อยไม้เบญจพรรรซึ่งจำเป็นต้องกองหมักทิ้งไว้ก่อน ส่วนการเตรียมวัสดุอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ วัสดุที่ไม่จำเป็นต้องหมัก เช่น ฟางสำหรับเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และขี้เลื่อยไม้ยางพารา สำหรับเพาะเห็ดถุงชนิดต่างๆ เป็นต้น
ในการเตรียมวัสดุที่จะต้องหมักนั้น ขั้นตอนต่างๆ ของการหมักธาตุอาหารที่ต้องใส่เพื่ม วิธี และเวลาในการกลับกอง การให้ความชื้น ความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีหรือธาตุ อาหารของปุ๋ย เมื่อกระบวนการสิ้นสุดลง ความหนาบางของชั้นปุ๋ยเมื่อใส่บนชั้นในโรงเรือนอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะ สมในการอบไอน้ำเพื่อที่จะกำจัดศัตรูเห็ด รวมทั้งการปรับสภาพปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดเห็ดที่จะเพาะเป็นสิ่งสำคัญที่ ควรจะทราบ
ส่วนวัสดุที่ไม่ต้องหมักนั้น ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องทราบได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี อันได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณธาตุอาหาร การเติมอาหารเสริม ระดับความชื้น การบรรจุถุง และการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลกระทบต่อผลผลิตและความเสียหายอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนโดยเชื้อ จุลินทรีย์ชนิดอื่น วิธีการใส่เชื้อ และระบบการใส่เชื้อซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดเห็ด เชื้อเห็ดบางชนิดต้องการความระมัดระวังอย่างยิ่งในการใส่เชื้อลงในถุง มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการปนเปื้อนเสียหาย เช่น เห็ดหอม
5.การดูแลรักษา
เริ่มตั้งแต่การบ่มเชื้อ การบังคับให้ออกดอก การให้น้ำ และการเก็บดอก ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบได้แก่สภาพแวดล้อมที่เหมาะส่ม เช่น ปริมาณก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ ความชื้น ่ความเป็นกรดเป็นด่าง ในระยะความเจริญต่างๆของเห็ดแต่ละชนิด ซึ่งนับว่าจำเป็นในการให้ผลผลิตเป็นอย่างยิ่ง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื่องจากเห็ดเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยสูงในระยะเวลาอันรวดเร็ว และชาวฟาร์มเห็ดจะเน้นการผลิตเพียงอย่างเดียวการดูแลรักษาความสะอาดของฟาร์ม จึงถูกละเลยก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคแมลง ตลอดจนศัตรูเห็ดชนิดอื่นๆตามมา ผลผลิตที่ได้ลดลงจนถึงขนาดเก็บเห็ดไม่ได้ก็มี การบริหารศัตรูเห็ดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
การบริหารศัตรูเห็ดไม่ให้ระบาดกระทบต่อผลผลิตเห็ด อันจะทำให้ฟาร์มเห็ดได้รับความเสียหายจำเป็นต้องควบคุมดูแลเอาใจใส่ทั้ง 5 ขั้นตอนเป็นพิเศษ ซึ่งศัตรูที่เจ้าของฟาร์มเห็ดควรศึกษาให้รู้จักธรรมชาติ และลักษณะการระบาด เพื่อป้องกันก่อนก่อให้เกิดความเสียหายกับฟาร์ม ศัตรูเห็ดแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.แมลง-ศัตรูเห็ด
2.โรคเห็ด
หลักการบริหาร โรคและแมลงศัตรูเห็ด
1.การผลิตเห็ดนั้น การรักษาความสะอาดอย่างถูกหลักอนามัยและบริเวณรอบโรงเรือนเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอาจกระทำได้โดยการดูแลรักษาความสะอาดของผู้เข้าไปปฏิบัติงานหรือผู้เข้า ไปเยี่ยมชมอย่างเคร่งครัด หรือก่อนที่จะนำเอาถุงก้อนเห็ดเข้าโรงเรือนเพาะ ควรผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีทุกครั้ง และก้อนเห็ดที่เน่าเสียทุกถุง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรควรนำออกไปทำลายโดยทันที ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ อย่างน้อยก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือลดการเสี่ยงต่อการระบาดทำลายของโรค และแมลง-ศัตรูเห็ด ได้มากกว่า 90%
2.การพักโรงเรือนหรือทำโรงเรือนเพาะให้ว่างเปล่าไว้สักระยะหนึ่ง จะเป็นการตัดวงจรชีวิตโรคและแมลง-ศัตรูเห็ดชนิดต่างๆ ที่ระบาดสะสมอยู่ในโรงเรือนได้
3.การดูแลเอาใจใส่ หมั่นสังเกตในการเปลี่ยนแปลงของเห็ดที่เพาะไว้ทุกระยะอย่างละเอียดเท่าที่จะ ทำได้ การหมั่นเสาะแสวงหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การนำเอาเครื่องดักจับไฟฟ้าชนิดหลอด (ฺBlack Light) หรือกับดักกาวเหนียว ( Sticky Trap) มาใช้ในโรงเรือนเพื่อการควบคุมปริมาณตัวแก่ของแมลงศัตรูเห็ด ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
4.สำหรับท่านที่กำลังจะคิดขยายกิจการเพาะเห็ดให้ใหญ่โตกว้างขวางขึ้นไป ก็ควรจะมีการวางแผนการจัดการในระดับต่างๆให้ได้ก่อนลงมือดำเนินการเช่น มีการวางแผนล่างหน้าเกี่ยวกับสายพันธุ์ การอารักขาพืชและการตลาด เป็นต้น ซึ่งควรวางแผน 2 แบบ คือ แผนปฏิบัติการเมื่อเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉิน
5.การเก็บผลผลิต
การเก็บดอกเห็ดสำหรับเห็ดแต่ละชนิด
- เห็ดฟาง เก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่ มีปลอกหุ้มดอกเต่งตึง
- เห็ดนางรม นางฟ้า นางนวล เป๋าฮื้อ เก็บเมื่อดอกบานประมาณ 50%
- เห็ดหูหนู เก็บเมื่อดอกบานย้วยเต็มที่
- เห็ดตีนแรด เก็บในขณะที่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่
- เห็ดขอนขาว นิยมรับประทานดอกอ่อน หรือหมวกเห็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 ซม.
- เห็ดหลินจือ เก็บเมื่อหมวกเห็ดแผ่บานเต็มที่
- เห็ดยานางิ เก็บเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ แต่ของหมวกยังงุ้มอยู่และเนื้อเยื่อที่ยึดที่ขอบหมวก กับก้านเห็ดยังไม่ขาดออก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางหมวกประมาณ 3-10 ซ.ม. และมีก้านยาวประมาณ 5-11 ซ.ม.
ควรเก็บดอกเห็ดในช่อเดียวกันทั้งหมด อย่าให้มีเศษเหลือติดค้างอยู่กับก้อนเชื้อเนื่องจากจะทำให้เศษเหลือทิ้งเน่า เชื้อโรคและแมลงจะเข้าทำลายได้เมื่อมีการบริหารจัดฟาร์มเห็ดตามที่ได้กล่าว ข้างต้นแล้ว เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการเพาะเห็ดอย่างแน่นอน

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฟาร์มเห็ด พัทยา เราใช้จุลินทรีย์

ฟาร์มเห็ด พัทยา เราใช้จุลินทรีย์ เป็นตัวยับยังการเจริญเติบโตของ รา ไร หนอน ในเห็ดต่างๆ ซึ่งจะใช้การป้องกันมากกว่าการกำจัด เราจะฉีด อาทิตย์ ล่ะครั้ง จุลินทรีย์ มี 3ประการได้แก่ พลายแก้ว ไมโตฟากัส บีที 3 ตัวนี้ช่วยให้คุณป้องกัน ศัตรูพืชที่ได้ผล และทำให้คุณได้ผลผลิดมากมาย สิ่งที่ตามมาคือกำไร อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ฟาร์มเห็ด พัทยา 080-0529101
ฟาร์มเห็ด เรา เป็นฟาร์มเห็ด ปลอดสารพิษ เราจะไม่ใช้สารเคมีใดๆที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ที่ ฟาร์ม เราจะเน้นใช้ จำพวกจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อาทิ บาซิลลัสพลายแก้ว บาซิลลัสไมโตฟากัส และ เชื้อบีทีชีวภาพ

บาซิลลัส พลายแก้ว จุลินทรีย์ ปฏิัปักษ์กลุ่มแบคทีเรียบาซิลลัส ซับติลิส ที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันกำจัดเชื้อราที่สำัคัญในประเทศไทย เช่น โรคกรากเน่า โคนเน่า โรคผลเน่า (แอนแทรกโนส) ฯลฯ

บาซิลลัสไมโตฟากัส เป็น ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับติลิส ที่ได้รับคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและกำจัดไรศัตรูเห็ด โดยเฉพาะไรไข่ปลา ซึ่งเป็นปัญหาในธุรกิจการเพาะเห็ดเพื่อการค้าปัจจุบั
เชื้อบีทีชีวภาพ เป็น จุลินทรีย์ที่ทำลายหนอนหนังเหนียว , หนอนใบ, หนอนคืบ, หนอนกระทู้ กำจัดหนอนวัยอ่อน ใช้วิธีการเพาะขยายเชื้อ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ฉีดพ่นในแปลงผััก สวนไม้ผล ไม่มีสารพิษตกต้าง ปลอดภัยทั้งผู้ใช้ และผู้บริโภค

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สาระความรู้ เกี่ยวกับฟาร์มเห็ด

http://www.pattaya-farm.com

ฟาร์มเห็ดพัทยา

ฟาร์มเห็ด พัทยา เราได้จัดทำก้อนเห็ดที่ได้มาตรฐาน เพื่อ " ขายก้อน" ใ้หกับลูกค้าที่สนใจรับไปเปิดดอก เช่น เห็ดขอน เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดหูหนู เห็ดยานางิ เ็ห็ดบด หรือ เห็ดกระด้าง ในราคาไม่แพง และเรายังเน้นบริการหลังการขายใ้หเป็นอย่างดี "ฟาร์มเห็ดพัทยา" เรามีพื้นที่ไม่มากในการทำฟาร์มเห็ด ใช้พื่้นทำทั้งหมด 1 งาน 30 ตารางวา ในการทำโรงเรื่อนและสถานที่ทำก้อนเห็ด ทำโรงเปิดดอกได้ 7 โรง โรงทำก้อนเห็ด 1 โรง ทำห้องเขี่ยเชี้อ 1 โรง และเช่าที่ อีก 1 งานกว่าๆ ทำโรงเปิดดอก อีก 8 โรง หากสนใจเข้ามาเยี่ยมชม เราเปิดให้บริการได้ตลอดทั้งวัน หรือ โทรมาสอบถาม


การทำโรงเรือนเพาะเห็ด



การทำโรงเรือนมีหลายขนาด แล้วแต่เห็ดแต่ล่ะชนิดด้วย ผมขอยกมาให้ดูซัก 2-3 โรงเรือน ฟาร์มเห็ด พัทยา จะเน้นทำโรงขนาด 4 คูณ 6 เมตร สูง 2.5เมตร เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

โรงเืรือนเพาะเห็ด ที่่ทำจากไม้ ความกว้าง 4 คูณ 6เมตร สูง 2.5 เมตร ใส่ได้ประมาณ 2800-3000 แล้วแต่เราจะใส่ให้สูงประมาณกี่ก้อน ผมแนะนำให้ใส่ความสูงประมาณ 10-11ก้อนก็พอ เพราะความซื้อจะได้ ส่วนหลังคาที่จะใช้คลุมก็แล้ัวแต่ว่าเป็นเห็ดอะไร ถ้าเป็นเห็ดขอน ก็ใช้พลาสติกคลุมก่อนแล้วก็คลุมสแลมตามทับอีกทีเพื่อให้มีแสงสว่างตามที่เห็ดของต้องการ สแลมก็จะใช้ประมาณ 80 เปอร์เซน ถ้าเป็นเห็ดนางฟ้าขอแนะนำให้ทำสูงกว่านี้หน่อยเพราะอากาศจะดีกว่า หลังคาก็น่าจะเป็นจาก หรือหญ้าคา เพาะเห็ดนางฟ้าชอบความเย็น 20-28 องศา

โรงเพาะเห็ดแบบโรงปูน ขนาด 4 เมตร คูณ7 เมตร สูง 3 เมตร โรงเพาะเห็ด แบบปูนนี้จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าโรงธรรมดา หลังคาใช้กระเบื้อง เพราะไม่ต้องมาเปลี่ยนบ่อยใช้ได้นาน

ถ้าหากมีอะไรสงสัย หรือไม่เข้าใจ หรือต้องการความรู้ ฟาร์มเห็ดพัทยา เต็มใจที่จะถ่ายทอดการเพาะเห็ดในถุงพลาสติดไม่มากก็น้อยเพื่อนำไปเป็นรายได้ถ้าหากมีอะไรผิดพลาดก็ต้องขออภัย ณ ที่นี้



การเลี้ยงดูเห็ดแต่ละชนิด

เห็ดภูฐาน หรือ นางฟ้า ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน

วิธีการเพาะ

1. ผสมวัสดุเพาะทั้งหมดเข้าด้วยกัน และทดสอบความชื้นให้พอเหมาะโดยจะมีความชื้นประมาณ 75-80%

2. บรรจุวัสดุเพาะลงในถุง ถ้าเป็นวัสดุเพาะเป็นขี้เลื่อยใช้ถุงขนาด 6.5x12.5 นิ้ว หนัก 800 - 1,000 กรัม ถ้าวัสดุเพาะเป็นฟางหมักควรใช้ถุงขนาด 7x13 นิ้ว แล้วอัดวัสดุให้แน่น แต่ละถุงจะมีน้ำหนักประมาณ ถ้าเป็นฟางหมัก 6-8 ขีด ถ้าเป็นขี้เลื่อยประมาณ 600 - 800 กรัม เสร็จแล้วใส่คอขวดรัดด้วยยางรัดปิดด้วยจุกสำลี

3. นำถุงก้อนเห็ดที่บรรจุแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่ง 2 แบบ คือ

3.1 หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบลูกทุ่ง หรือหม้อนึ่งไม่อัดความดัน โดยใช้ถัง 200 ลิตร บรรจุครั้งละ 100 ถุง นึ่งนาน 1.5-2 ชั่วโมง หรือหม้อนึ่งที่ประกอบด้วยเหล็กแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุถุงได้ตั้งแต่ 500-5,000 ถุง โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 4-10 ชั่วโมง

3.2 การนึ่งแบบมีความดัน จะเป็นถังที่สามารถทนความร้อนสูงได้ 121 องศาเซลเซียส และมีความดันประมาณ 15-18 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 2-3 ชั่วโมง


การปลูกเชื้อเห็ดลงถุง

เปิดจุกสำลีออกแล้วใช้เชื้อเห็ดในเมล็ดธัญพืชหยอดลงไปประมาณ 20 เมล็ด แล้วปิดด้วยกระดาษนำไปบ่มให้เส้นใยเห็ดเดินต่อไป ระยะเวลาการบ่มเส้นใย เห็ดนางรมและนางฟ้าภูฐาน จะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ จะใช้เวลา ประมาณ 45-50 วัน


การเปิดดอก

เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงหรือใช้เวลาในการบ่มได้ที่แล้ว นำถุงก้อนเชื้อเห็ดเข้าในโรงเรือนเปิดดอกและดึงกระดาษที่ปิดหน้าถุงออก เพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนให้ได้ ประมาณ 80-85% โดยการฉีดพ่นน้ำ เป็นละอองฝอย วันละ 2-3 ครั้ง จากนั้นประมาณ 7-10 วัน ดอกเห็ดก็จะเริ่มออกและเก็บได้ ก่อนเก็บผลผลิต ควรงดการให้น้ำเพราะเห็ดจะเปียกชื้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

การเก็บเกี่ยว

ทำการดึงดอกเห็ดที่ออกจากหน้าถุงเมื่อโตเต็มที่อยู่ในระยะที่ยังไม่บาน สังเกตจากขอบดอกเห็ดยังงุ้มอยู่ โดยดึงดอกเห็ดให้หลุดออกจากถุงทั้งกลุ่มไม่ให้เหลือโคนติดที่ถุง เพราะจะทำให้หน้าถุงเน่าทำให้มีเชื้อราอื่นหรือมีแมลงหวี่เข้าทำลาย


เห็ดขอน

เห็ดขอนขาวเป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ตามขอนไม้ที่ผุพังในเขตป่าร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนามและมาเลเซีย ประชาชนนิยมบริโภคกันมากเพราะรสชาติดี ปัจจุบันเกษตรกรหันมาสนใจการเพาะเห็ดชนิดนี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการเพาะและการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเกินไป และเหมาะกับสภาพดินอาหาศของไทยเรา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะบางปีเพาะได้แม้กระทั่งฤดูหนาว

วิธีการทำให้เห็ดได้ผลผลิตดี


1. ในการเพาะเห็ดขอนขาวนั้น บริเวณที่เพาะเห็ดต้องไม่ร่มเกินไป บริเวณหลังคาต้องให้แสงแดดส่องถึงพื้นโรงเรือนด้วย ก็หมายความว่า โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดขอนขาวนั้นต้องไม่ทึบเกินไป ต้องให้มีแสงส่องผ่าน ซึ่งแสงนี่แหละจะเป็นตัวกระตุ้นให้เห็ดเกิดดอกดียิ่งขึ้น

2. การรักษาอุณหภูมิและความชื้น เห็ดขอนขาวต้องการอุณหภูมิในการเกิดดอกประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส และอาศัยความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ นั่นแสดงให้เห็นว่าเราจะต้องมีการให้น้ำ รักษาความชื้น และดูแลเรื่องอุณหภูมิให้เหมาะสมแค่นี้ก็ไม่ทนที่จะเก็บดอกแล้ว

3. การรักษาความสะอาด เพราะโดยปกติแล้วเวลาทำงานไปเรื่อยๆ คนเรามักจะมักง่าย ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความสะอาด ดังนั้นจะทำให้เกิดการหมักหมม ทำให้เกิดโรคและแมลงระบาดได้ ซึ่งจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเอง

ศัตรูของเห็ดขอนขาว

จำพวกแมลง เช่น ไรไข่ปลา ถ้าระบาดในโรงเรือนจะทำให้เสียหายต่อผลผลิตได้ ควรป้องกันล่วงหน้าเสียก่อน เช่น ระหว่างบ่มเชื้อ ต้องฉีดพ่นทุก ๆ วัน โรงเรือนเปิดดอกต้องพ่นยาเสียก่อน ก่อนที่นำก้อนเห็ดเข้าไปในโรงเรือน ถ้าระบาดในระหว่างออกดอก ควรเก็บดอกเห็ดออกให้หมดแล้วพ่นด้วยยาเซฟวิน 85 อย่างเข้มข้น โดยใช้ยา 9 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปิ๊ป หรือ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วปิดโรงเรือนไว้ 2 วัน ไม่ให้รดน้ำ พอครบ 2 วัน แล้วค่อยรดน้ำวันละ 3 ครั้ง

ข้อควรระวัง

1. การดูแลเรื่องการรดน้ำต้องให้สม่ำเสมอวันไหนฝนตกมากไม่ต้องรดน้ำมากเพียงผิวบาง ๆ ก็พอ

2. ถ้าเห็ดขาเหลืองเอาหญ้าคาลงบางส่วนให้ร้อน 2-3 วัน และลดการรดน้ำลงเหลือ 2-3 ครั้งต่อวัน

3. ถ้ามีแมลงรบกวน อย้าใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นดอกเห็ด ควรเก็บดอกเห็ดให้หมดเสียก่อนค่อยพ่นยา

ไล่แมลง

4. ไม่จำเป็นอย่าให้บุคคลอื่นเข้าไปในโรงเรือนเห็ด อาจจะนำเชื้อโรคหรือแมลงเข้าสู่โรงเรือนเราได้

5. มีปัญหาควรปรึกษาผู้รู้ทันที หรือศูนย์เชื้อเห็ดอีสานสาขาที่อยู่ใกล้บ้าน



เปิดเคล็ดลับเพาะ"เห็ดยานาง


เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 51

เห็ดโคนญี่ปุ่นหรือยานางิมีชื่อสากลว่า Agrocybe cylindracea Maire ดอกมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เห็ดออกดอก ถ้าอุณหภูมิยิ่งเย็นสีจะยิ่งเข้ม ก้านดอกสีขาว เนื้อแน่นและมีเนื้อเยื่อยาว ทำให้ไม่เปราะหรือหักง่าย รสชาติคล้ายกับเห็ดโคนไทย

ขั้น ตอนการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นนั้นไม่ยากเริ่มจากการทำถุงก้อนเชื้อ ประกอบด้วย ขี้เลื่อยยางพารา รำละเอียด ปูนโดโลไมค์ ปูนยิบซั่ม ดีเกลือ ภูไมค์ ปุ๋ย ดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอวเฟส แป้งข้าวเหนียว ชาเขียวหรือกระถินป่น ส่าเหล้า และ น้ำ จากนั้นนำมาผสมเข้าด้วยกัน จนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน

เมื่อส่วน ผสมต่างๆ และปรับความชื้นให้เหมาะสมแล้ว จากนั้นก็นำมาบรรจุลงในถุงพลาสติก ที่ทนความร้อนแน่นพอประมาณ ถ้าบรรจุหลวมเกินไปเชื้อจะเดินไปเร็วทำให้อายุ ก้อนเชื้อจะสั้น แต่ถ้าบรรจุแน่นเกินไปเชื้อเห็ดจะเดินได้ช้าต้องเสียเวลา บ่มก้อนเชื้อนาน จากนั้นก็สวมคอขวดและอุดด้วนจุกประหยัดสำลีแล้วนำไปนึ่งฆ่า เชื้อปนเปื้อน

การนึ่งฆ่าเชื้อโรคจะต้องแน่ใจว่าหม้อนึ่งของเรามี ความสามารถทำอุณหภูมิความร้อนให้ได้ถึง 100 องศาเซลเซียสและสามารถทนความ ร้อนได้นาน 3 ชั่วโมง หลังจากนึ่งก้อนเชื้อแล้วให้นำไปพักไว้ในห้องต่อ เชื้อ ซึ่งห้องดังกล่าวควรมีลักษณะมิดชิด ไม่มีกระแสลมแรงและที่สำคัญต้อง สะอาดปราศจากแมลงและเชื้อโรคศัตรูเห็ดต่าง

ส่วนเตรียมหัวเชื้อต้อง สังเกตว่าหัวเชื้อที่ดีจะต้องมีเส้นใยเห็ดเจริญเต็มขวดไม่มีเชื้อรา อื่น ๆ ปนเปื้อนและต้องไม่เป็นเชื้อเห็ดที่แก่เกินไปจนเส้นใยรัดตัวแน่นเป็น สีน้ำตาล-ดำ ก่อนการใช้หัวเชื้อเห็ดต้องทำการเคาะเชื้อเห็ดให้แตกร่วนเสีย ก่อนและทิ้งไว้ 1 คืนก่อนทำการเขี่ยเชื้อลงถุงก้อนเชื้อเห็ด

หลังทำ การต่อเชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำถุงก้อนเชื้อเห็ดไปพักบ่มไว้ในโรง เรือนพักบ่มเชื้อ ลักษณะโรงเรือนบ่มพักที่ดีควรมีอากาศถ่ายเทดีจะมีแสงหรือ ไม่มี แสงก็ได้ แต่ต้องไม่โดนแสงแดดโดยตรง ไม่โดนน้ำฝนหรือละอองฝน ไม่อับ ชื้น ระยะเวลาการบ่มอยู่ที่ประมาณ 40 วัน เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต้มถุงดีแล้ว ให้สังเกตเส้นใยเห็ดจะรัดตัวและมีการสะสนมอาหารให้ทำการย้ายก้อนเห็ดไปไว้ใน โรงเรือนเปิดดอกทันที

วันอาทิตย์ที่22 มิ.ย.51 ที่จะถึงนี้ คุณจิร วุฒิ อินทรานุกูล เจ้าของสวนเห็ดจิรวุฒิ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ พร้อมทีมงานจะมา แนะเคล็ดลับวิธีการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นหรือยานางิอย่างละเอียดในทุกขั้น ตอน พร้อมคำอธิบายในเรื่องของต้นทุน ตลาดรองรับ สำหรับผู้ที่คิดทำในเชิง ธุรกิจ สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.0-2338-3356-7(ค่าลง ทะเบียน 1,177 บาท)

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 17 มิถุนายน 2551

http://www.komchadluek.net/2008/06/17/x_agi_b001_207202.php?news_id=207202

ฟาร์มเห็ดพัทยา

ฟาร์มเห็ด พัทยา เราได้จัดทำก้อนเห็ดที่ได้มาตรฐาน เพื่อ " ขายก้อน" ใ้หกับลูกค้าที่สนใจรับไปเปิดดอก เช่น เห็ดขอน เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดหูหนู เห็ดยานางิ เ็ห็ดบด หรือ เห็ดกระด้าง ในราคาไม่แพง และเรายังเน้นบริการหลังการขายใ้หเป็นอย่างดี "ฟาร์มเห็ดพัทยา" เรามีพื้นที่ไม่มากในการทำฟาร์มเห็ด ใช้พื่้นทำทั้งหมด 1 งาน 30 ตารางวา ในการทำโรงเรื่อนและสถานที่ทำก้อนเห็ด ทำโรงเปิดดอกได้ 7 โรง โรงทำก้อนเห็ด 1 โรง ทำห้องเขี่ยเชี้อ 1 โรง และเช่าที่ อีก 1 งานกว่าๆ ทำโรงเปิดดอก อีก 8 โรง หากสนใจเข้ามาเยี่ยมชม เราเปิดให้บริการได้ตลอดทั้งวัน หรือ โทรมาสอบถาม

ติดต่อเรา

- PATTAYA FARM -


เอกรัตน์ ฉิมพานิช
ณัชชา วงษ์เมือง


135/5 ม.4 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150

โทร : 038-170266 มือถือ : 080-0529101 ,

ฟาร์มเห็ดพัทยา

ฟาร์มเห็ด พัทยา เราได้จัดทำก้อนเห็ดที่ได้มาตรฐาน เพื่อ " ขายก้อน" ใ้หกับลูกค้าที่สนใจรับไปเปิดดอก เช่น เห็ดขอน เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดหูหนู เห็ดยานางิ เ็ห็ดบด หรือ เห็ดกระด้าง ในราคาไม่แพง และเรายังเน้นบริการหลังการขายใ้หเป็นอย่างดี "ฟาร์มเห็ดพัทยา" เรามีพื้นที่ไม่มากในการทำฟาร์มเห็ด ใช้พื่้นทำทั้งหมด 1 งาน 30 ตารางวา ในการทำโรงเรื่อนและสถานที่ทำก้อนเห็ด ทำโรงเปิดดอกได้ 7 โรง โรงทำก้อนเห็ด 1 โรง ทำห้องเขี่ยเชี้อ 1 โรง และเช่าที่ อีก 1 งานกว่าๆ ทำโรงเปิดดอก อีก 8 โรง หากสนใจเข้ามาเยี่ยมชม เราเปิดให้บริการได้ตลอดทั้งวัน หรือ โทรมาสอบถาม

ติดต่อเรา

- PATTAYA FARM -


เอกรัตน์ ฉิมพานิช
ณัชชา วงษ์เมือง


135/5 ม.4 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150

โทร : 038-170266 มือถือ : 080-0529101
e-mail : [ bas9191 at hotmail.com ]


เอกรัตน์ ฉิมพานิช

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน)

สาขาย่อย ฮาร์เบอร์มอลล์ (แหลมฉบัง)

เลขที่บัญชี 401-446551-3 ออมทรัพย์